ข้อแนะนำสำหรับการคุมโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด H1N1
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบด้านอาหารของประเทศแคนาดา (The Canadian Food Inspection Agency (CFIA)) รายงานว่าพบการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 (Human Swine Influenza)ในฝูงสุกรใน Alberta โดยสุกรน่าจะได้รับเชื้อมาจากคนที่เดินทางกลับมาจากประเทศเม็กซิโกและแสดงอาการของไข้หวัด ทั้งนี้สุกรที่ป่วยทั้งหมดได้หายเป็นปกติแล้ว
ฝูงสุกรทั้งหมด ถูกกัก และหน่วยงาน CFIA ได้ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อที่จะหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการป้องกันทั้งทางด้านสุขภาพคนและสุขภาพสัตว์ CFIA ได้ขอให้สัตวแพทย์และเจ้าของฟาร์ม ได้เพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อที่จะจำกัดความเสี่ยงต่อสุกร ความปลอดภัยทางด้านอาหารไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องด้วยเชื้อไข้หวัดใหญ่นี้ไม่สามารถติดต่อได้เมื่อทำให้สุกแล้ว ตามที่องค์การอนามัยโรคและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติแนะนำ เนื้อสุกรดิบนั้น ควรได้รับการปรุงสุกอย่างถูกต้องเพื่อที่จะกำจัดความกังวลต่อการบริโภค โรคไข้หวัดใหญ่ในสุกรคืออะไร ?
โรคไข้หวัดใหญ่ในสุกรคือโรคระบาดทางระบบทางเดินหายใจในสุกร โดยพบการระบาดได้ทั่วในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตรวจพบได้ทั่วไปในสุกร และสามารถติดต่อไปยังคน สัตว์ปีก หรือสุกรอื่นได้ ไม่ค่อยพบการติดต่อของโรคจากสุกรไปยังคน การจะติดต่อได้นั้นต้องมีการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับสุกรป่วย อย่างไรก็ตาม CFIA กำลังศึกษาถึงระยะความเสี่ยงที่เป็นไปได้ของการติดต่อระหว่างคนและสัตว์ เพื่อที่จะได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสในขณะปฏิบัติงาน CFIA ได้กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานในระดับภูมิภาคในการเฝ้าติดตามฝูงสุกร และสนับสนุนให้เจ้าของฟาร์มเข้มงวดในมาตรการต่างๆ ในการป้องกันโรค อาการในสุกรเป็นอย่างไร? อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ในสุกรประกอบด้วย มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอ จาม มีน้ำมูก หายใจลำบาก แท้ง จะป้องกันโรคในสุกรได้อย่างไร?
มาตรการที่ใช้ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในสุกรมีดังต่อไปนี้
• การฉีดวัคซีนในสัตว์ ให้คนงานในฟาร์มรักษาสุขอนามัย เข้มงวดการดำเนินการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ จัดการระบบการไหลเวียนอากาศในโรงเรือนที่ดีพอ ตรวจหาและแยกสัตว์ป่วยให้เร็วที่สุด
ข้อแนะนำอะไรสำหรับเจ้าของฟาร์มในการจำกัดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค?
การควบคุมการสัมผัสโรค:
• คนที่แสดงอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์
• คนงานในฟาร์มสุกรที่เคยสัมผัสกับเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่หรือได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ จนกระทั่งได้รับการตรวจจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแล้ว
• หลีกเลี่ยงการสัมผัสสุกรภายนอก
• ควบคุมและจำกัดผู้เข้ามีเยี่ยมฟาร์ม
• ผู้มาเยี่ยมฟาร์มควรสวมรองเท้าบู๊ท ชุดคลุม ถุงมือ และล้างมือให้สะอาดในขณะเข้าและออก
• ป้องกันสัตว์อื่นเข้ามาในฝูงสุกร
• บันทึกการเข้าออกของคน สัตว์และเครื่องมือ การแยกสัตว์
• ควรรู้แหล่งของสัตว์ที่นำเข้ามาใหม่ และจำกัดความถี่ของการนำสัตว์ใหม่เข้ามาในฝูง
• ควรแยกโรงเรือนของสุกรแรกเกิด สุกรหย่านม สุกรขุน และสุกรพันธุ์
• การนำสุกรเข้าออกฟาร์มควรเป็นระบบ all-in-all-out การสุขาภิบาล
• ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคเครื่องมือ อุปกรณ์ ชุด และโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ
• แยกพื้นที่สะอาดสำหรับยานพาหนะและอุปกรณ์ต่าๆ
• กำจัดซากสุกรที่ตายทันทีเพื่อลดโอกาสของการแพร่โรค
• หลีกเลี่ยงการยืมอุปกรณ์และยานพาหนะจากฟาร์มอื่น การจัดการสุขภาพของฝูงสุกร
• เฝ้าติดตามสุขภาพของฝูงสุกรทุกวัน และจ้างสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม
• ทำเครื่องหมายประจำฝูงเพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบย้อนกลับ (ทั้งแหล่งที่มาและแหล่งที่ขายไป)
• ปรึกษาสัตวแพทย์ในการพิจารณาใช้วัคซีน
• แยกสัตว์ป่วยและรายงานอาการป่วยไปยังสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มหรือหน่วยงาน CFIA ที่ใกล้ที่สุดทันที จัดโปรแกรมในฟาร์ม
• ฝึกอบรมคนงานทั้งหมดให้มีความรู้ในเรื่องระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และติดตามประสิทธิภาพของมัน
• ติดตามสภาวะของโรคต่างๆ ในพื้นที่ และปรับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพตามนั้น
• แนะนำคนงานในฟาร์มให้ทำวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (จุดประสงค์เพื่อลดจำนวนเชื้อไวรัสที่แพร่)
ข้อแนะนำสำหรับสัตวแพทย์ที่จะเข้าไปสอบสวนโรคในระบบทางเดินหายใจของสุกรคืออะไร?
• เตรียมการและวางแผนในการตรวจเยี่ยมฟาร์มล่วงหน้า
• จอดรถในพื้นที่ที่ฟาร์มจัดเตรียมไว้ หรือให้ห่างจากสัตว์ให้มากที่สุด
• ทำสมุดตรวจเยี่ยมฟาร์ม
• ใช้ชุดและอุปกรณ์ป้องกันตัวที่เหมาะสม เช่น หน้ากาก N95, ถุงมือ, ชุดป้องกัน, รองเท้า, และ แว่นตา
• ล้างมือให้สะอาดภายหลังจากที่จับสัตว์
• ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือและยานพาหนะ
• กำจัดชุดป้องกันด้วยวิธีที่ถูกต้องปลอดภัย ดังนี้
1. ทิ้งไว้ในฟาร์มเพื่อที่จะกำจัดได้อย่างเหมาะสม หรือ
2. ทิ้งในถังสำหรับใส่อุปกรณ์ปนเปื้อนเพื่อขนย้ายต่อไปยังสำนักงาน
• จัดลำดับของการทำงานโดยคำนึงถึงงานที่เสี่ยงน้อยที่สุด และต่อจากนั้นก็ไปสังเกตสัตว์ป่วย
• หลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสกับที่เก็บสิ่งปฏิกูล เก็บอาหาร และเก็บน้ำ