ประวัติความเป็นมา สปส.

 สำนักงานประกันสังคม

เมื่อปี พ.ศ.2497 ได้มีการตราพระราชบัญญัติประกันสังคมขึ้น แต่รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า สภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้น ยังไม่พร้อมที่ จะนำพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2497 ออกใช้บังคับจึงมิได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาบังคับใช้

ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลโดยคณะปฏิวัติพิจารณาว่า ลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตาย

เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างควรมีหลักประกันว่าจะได้รับเงินทดแทน จึงได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ได้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นในกรมแรงงาน โดยมีเจตนารมณ์ที่จะให้หลักประกันแก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน  ประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้กำหนดให้นายจ้างเป็นผู้ส่งเงินสมทบให้แก่กองทุนเงินทดแทน เพื่อใช้ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนการขาดรายได้รายเดือน ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ค่าทำศพ  งนี้นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเพียงฝ่ายเดียวตามความเสี่ยงของประเภทกิจการนั้นๆ  ในอัตราร้อยละ  0.2-2.0  กองทุนเงินทดแทนได้เริ่มบริหารกองทุน  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2517  เป็นต้นมา  โดยขึ้นอยู่กับกรมแรงงาน  นับได้ว่าเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมอย่างแท้จริงนินการเพื่อผลักดันการประกันสังคมให้เต็มรูปแบบ ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายคณะเพื่อพิจารณาในเรื่องนี้ จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2524 คณะกรรมการเตรียมการประกันสังคมซึ่งมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ได้ยกร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ขึ้นใหม่ รวมทั้งแนวทางการดำเนินการ การจัดองค์กรบริหารและกองทุนเงินสมทบ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่ง พ.ศ. 2533 ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ก็ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมา พระราชบัญญัตินี้จะให้หลักประกันแก่ลูกจ้างผู้ประกันตน

ทั้งนี้ในระยะแรก  จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มี่จำนวนตั้งแต่  20  คนขึ้นไปก่อน  โดยให้ขยายไปยังสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่  10  คนในปี  2536  และให้ความความคุ้มครองเฉพาะกรณีเจ็บป่วย  ทุพพลภาพ ตายที่มิใช่เนื่องจากการทำงาน  และกรณีคลอดบุตรก่อน  ทั้งนี้นายจ้าง  และลูกจ้าง  และรัฐบาล  เป็นผู้จ่ายเงินสมทบ ในอัตราที่เท่ากัน  คือร้อยละ 1.5 สำหรับการชราภาพ  และการสงเคราะห์บุตร ให้ขยายความคุ้มครองภายในปี 2539  และการว่างงาน ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อพร้อมที่จะดำเนินการสำนักงานประกันสังคม สังกัดกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2533 โดยโอนงานของกรมประชาสงเคราะห์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคม และงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ไปในสังกัดของสำนักงานประกันสังคมสำนักงานประกันสังคม ได้โอนมาอยู่ในสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในวันที่ 23 กันยายน 2536

ไข้หวัด 2009

ไข้หวัด         สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ตอบรับมาตรการ “เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในสถานที่ราชการ” ของกระทรวงแรงงาน ตรวจวัดอุณหภูมิเจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อราชการ หากมีอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศา กรณีเจ้าหน้าที่ให้กลับบ้านได้ โดยไม่ถือเป็นวันลา กรณีผู้มาติดต่อให้รอเจ้าหน้าที่มาให้บริการ ณ จุดบริการที่กำหนด ย้ำ! ผู้ประกันตน หากมีอาการไข้รีบพบแพทย์ สามารถรับสิทธิการรักษาพยาบาลจากกองทุนประกันสังคมได้

         สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ดำเนินการ มาตรการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในสถานที่ราชการ ตรวจวัดอุณหภูมิเจ้าหน้าที่ และผู้ที่มาติดต่อราชการก่อนขึ้นอาคาร หากมีอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส กรณีเจ้าหน้าที่ให้กลับบ้านและไปพบแพทย์ได้โดยไม่ถือเป็นวันลา กรณีผู้ที่มาติดต่อราชการให้นั่งรอเจ้าหน้าที่มารับบริการ ณ จุดบริการที่กำหนด เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ในสถานที่ราชการและขอความร่วมมือสถานประกอบการควรจัดให้มีการตรวจอุณหภูมิร่างกาย ลูกจ้างผู้ประกันตนทุกวันก่อนเข้าทำงาน หากมีอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

         ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่มีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ ไอ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์ ที่สถานพยาบาล ตามบัตรรับรองสิทธิฯ เพื่อทำการตรวจรักษา หากพบว่า ผู้ประกันตนป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และแพทย์ผู้รักษาวินิจฉัยให้ยาต้านไวรัส โอลเซลทามิเวียร์ ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วยจากกองทุนประกันสังคมได้

         หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือ โทร.1506 ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.หรือติดต่อระบบโทรศัพท์ ตอบรับอัตโนมัติให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.sso.go.th